~::Welcome To CARTOONCLUB::~


สวัสดีทุกท่านนะครับผม เข้ามาแล้ว ก็ สมัคร สมาชิก ด้วยนะครับ
โดยคลิกที่ ปุ่มด้านล่างข้อความนี้นะครับผม ^^
และถ้าไม่ สมัคร ก็จะไม่เห็น รูปภาพ,ลิ้งค์ บนเว็บบอร์ดแห่งนี้นะครับ
ยังไงก็ช่วยสมัครกันหน่อยนะครับผม ขอบคุณครับอิอิ



**ในกรณีที่ไม่เห็นข้อความในกระทู้ ให้สมัคร แล้ว กด Postreply หรือตอบกระทู้นั่นเองแล้วข้อความก็จะแสดง ครับผม**


Join the forum, it's quick and easy

~::Welcome To CARTOONCLUB::~


สวัสดีทุกท่านนะครับผม เข้ามาแล้ว ก็ สมัคร สมาชิก ด้วยนะครับ
โดยคลิกที่ ปุ่มด้านล่างข้อความนี้นะครับผม ^^
และถ้าไม่ สมัคร ก็จะไม่เห็น รูปภาพ,ลิ้งค์ บนเว็บบอร์ดแห่งนี้นะครับ
ยังไงก็ช่วยสมัครกันหน่อยนะครับผม ขอบคุณครับอิอิ



**ในกรณีที่ไม่เห็นข้อความในกระทู้ ให้สมัคร แล้ว กด Postreply หรือตอบกระทู้นั่นเองแล้วข้อความก็จะแสดง ครับผม**
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ความเป็นมาของตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช

2 posters

Go down

ความเป็นมาของตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช Empty ความเป็นมาของตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช

ตั้งหัวข้อ by _YURI_ Sat Apr 03, 2010 10:59 am

ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย มีความเป็นมาอย่างไรนั้น เห็นว่า ความสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในเรื่องตำนานพระสงฆ์น่าจะถูกต้องที่สุด โดยทรงให้ความเห็นไว้ว่า
“ฯลฯ สมณศักดิ์ในประเทศสยามที่ได้พบหลักฐานเป็นเก่าก่อนที่สุด มีในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นเจ้าแผ่นดินในรัชกาลที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จารึกในราวปี พ.ศ. ๑๘๓๕ ที่ว่า พระนครกรุงสุโขทัยมีสังฆราช มีปู่ครู มีมหาเถระ และเถระสังฆราชนั้น เห็นจะเป็นสังฆนายกชั้นสูงสุด ตำแหน่งปู่ครู ตรงกับที่เราเรียกว่าพระครูในทุกวันนี้ เป็นตำแหน่งสังฆนายก รองลงมาจากสังฆราช มหาเถระและเถระที่กล่าวในศิลาจารึกนั้นเห็นจะมีความหมายว่า พระภิกษุซึ่งมีพรรษาอายุและทรงคุณธรรมในทางพระศาสนา เป็นมหาเถระและเถระตามวินัยบัญญัติ มิได้เป็นสมณศักดิ์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง

“เหตุใดจึงเรียกตำแหน่งสังฆนายกว่าสังฆราช ว่าปู่ครู ข้อนี้มีเค้าพอที่จะสันนิษฐานได้ด้วยยศพราหมณ์ ซึ่งปรากฏว่ามียศเป็นพระครู และพระราชครู (ในครั้งนั้นเห็นจะเรียกว่า ปู่ครู ดังในศิลาจารึก) ด้วยพราหมณ์เป็นผู้สั่งสอนแบบประเพณีข้างฝ่ายพระราชอาณาจักรตั้งแต่ยังเป็นใหญ่ในประเทศนี้ เมื่อไทยได้ปกครองสยามประเทศ มาตั้งราชธานีที่นครสุโขทัย เชื่อได้ว่า คติพราหมณ์มีมั่นคงในที่นั้นมาก่อน เมื่อมาถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามากขึ้น พระเจ้าแผ่นดินทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนา ทรงพระราชดำริเห็นสมควรจะต้องยกย่องให้สังฆนายกมียศศักดิ์ ข้าพเจ้า(สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ) เข้าใจว่าคงจะเอายศพราหมณ์มาเทียบตั้งสังฆนายกเป็นสังฆราชและปู่ครูโดยลำดับ ตำแหน่งสังฆราชที่ไม่เรียกว่า พระราชครู คงจะเป็นเพราะพระสงฆ์เป็นแต่ผู้สอนพระธรรมวินัยฝ่ายพระพุทธศาสนา ไม่ได้เป็นข้าราชการเหมือนพวกพราหมณ์ สังฆนายกมีแต่หน้าที่บังคับบัญชาว่ากล่าวพระภิกษุสงฆ์บริษัท จึงให้เรียกว่าสังฆราช ทางที่มีเค้ามูลเหตุที่จะเรียกสังฆนายกว่าพระสังฆราชปู่ครู ข้าพเจ้า(สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ) คิดเห็นแต่ทางนี้ทางเดียว
“ในสยามประเทศ เมื่อพระนครสุโขทัยเป็นราชธานี เห็นจะมีพระสังฆราชมากกว่าองค์เดียว ด้วยวิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในสมัยนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลราชธานีเป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองที่อยู่ไกลราชธานีเป็นเมืองใหญ่ ก็ตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ออกไปครองอย่างทำนองประเทศราช เมืองใหญ่เมืองหนึ่งน่าจะมีสังฆราชองค์หนึ่งเป็นสังฆปริณายกของสังฆบริษัทแห่งเมืองนั้น ความตามที่กล่าวนี้ มีเค้าเงื่อนปรากฏในทำเนียบชั้น ยังเรียกเจ้าเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพิ่งทรงเปลี่ยนเป็นสังฆปาโมกข์ในรัชกาลที่ ๔ นี้เอง แต่ส่วนตำแหน่งปู่ครูนั้น เปลี่ยนเรียกว่าพระครูมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยแล้ว ดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า เชื่อได้แน่ว่า ตำแหน่งพระครูเป็นตำแหน่งสังฆนายก รองสังฆราชลงมา เมืองใหญ่มีเมืองละหลายองค์ ถ้าเป็นเมืองน้อย สังฆปริณายกมีสมณศักดิ์เป็นเพียงปู่ครู ฯลฯ”
ครั้นต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี การปกครองคณะสงฆ์ไทยเชื่อว่าคงเป็นไปตามหลักเดิมที่มีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่ก็คงมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดไปบ้างเพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัยและเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในสมัยนั้น
เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไทยเราต้องย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่กรุงธนบุรีชั่วคราว แล้วสร้างกรุงเทพมหานครขึ้น การปกครองคณะสงฆ์ได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ก็คงมีของเดิมเป็นโครงสร้างอยู่ กล่าวคือ การปกครองคณะสงฆ์ พระเจ้าแผ่นดินคงตั้งสมเด็จพระสังฆราชขึ้น ให้เป็นประมุขทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ด้วยกันเอง และในการดำเนินการปกครองคณะสงฆ์นี้ ก็มีพระสังฆราชปกครองคณะสงฆ์ ตามหลักดำเนินการ แต่คงมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดให้เป็นไปตามยุคกาลสมัย เพื่อให้สามารถดำเนินการปกครองคณะสงฆ์สำเร็จลุล่วงเป็นไปด้วยดี แต่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกนี้ยังคงที่อยู่ เพราะเป็นตำแหน่งซึ่งมีความจำเป็น โดยมีความเป็นมาดังกล่าวแล้ว ตลอดมาจนทุกวันนี้
สมเด็จพระสังฆราชในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ คงดำรงตำแหน่งเป็นสกลมหาสังฆปริณายกสืบต่อมาจากโบราณจนถึงทุกวันนี้ แม้ต่อมาจะได้มีการตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ขึ้นก็ดี และแล้วจะได้มีการแก้ไขหลักการบางอย่างในพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๘ และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ บ้างก็ดี แต่ก็หาได้เปลี่ยนแปลงความเป็นสกลมหาสังฆปริณายกของสมเด็จพระสังฆราชเป็นอย่างอื่นไปไม่

[You must be registered and logged in to see this link.]
_YURI_
_YURI_
Moderators
Moderators

โพสต์แล้ว โพสต์แล้ว : 304
<b>เหรียญ</b> เหรียญ : 754
<b>CTC</b> CTC : 149
วันเกิด วันเกิด : 12/02/1995
ที่อยู่ ที่อยู่ : Paris
เข้าร่วม เข้าร่วม : 03/04/2010
Age Age : 29
อาชีพ อาชีพ : นักเต้น
ชื่อเล่น ชื่อเล่น : Urenus เคราะห์น้อย - -*

ขึ้นไปข้างบน Go down

ความเป็นมาของตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช Empty Re: ความเป็นมาของตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช

ตั้งหัวข้อ by bookba500 Sat Apr 03, 2010 9:06 pm

จิงอะ
bookba500
bookba500
Level 3
Level 3

โพสต์แล้ว โพสต์แล้ว : 265
<b>เหรียญ</b> เหรียญ : 418
<b>CTC</b> CTC : 14
วันเกิด วันเกิด : 06/05/1995
ที่อยู่ ที่อยู่ : บ้านชึนะ
เข้าร่วม เข้าร่วม : 02/04/2010
Age Age : 29
อาชีพ อาชีพ : เปงชึนะ
ชื่อเล่น ชื่อเล่น : อ้ำ

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ